ประเทศไทย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลในใบปลิวนี้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมายของต่างประเทศที่ระบุไว้เพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น คำถามเกี่ยวกับการตีความกฎหมายต่างประเทศที่เฉพาะเจาะจงควรถูกส่งถึงที่ปรึกษาด้านกฎหมายต่างประเทศ
ข้อมูลทั่วไป: การลักพาโดยผู้ปกครองไม่ใช่อาชญากรรมในประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ของไทยจะไม่ออกหมายจับหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหากบิดามารดาคนใดคนหนึ่งพาบุตรไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอีกฝ่าย อนุสัญญากรุงเฮกเกี่ยวกับลักษณะทางแพ่งของการลักพาเด็กระหว่างประเทศจะไม่สามารถอ้างถึงได้หากเด็กถูกนำตัวออกจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทยหรือในทางกลับกันโดยบิดามารดาคนใดคนหนึ่งขัดความประสงค์ของอีกฝ่ายหรือละเมิดคำสั่งอำนาจปกครองบุตรในสหรัฐอเมริกา
อำนาจปกครองบุตร: ภายใต้กฎหมายไทย คำถามเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรได้ถูกกล่าวถึงในบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทย ภายใต้หัวข้อทั่วไปเรื่องการสิ้นสุดแห่งการสมรสและสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองและบุตร ส่วนเกี่ยวข้องของกฎหมายฉบับเต็มมีดังต่อไปนี้:
มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ทั้งนั้น ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ
มาตรา 1521 ถ้าปรากฎว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ถ้าหย่าโดยคำพิพิากษาของศาลหรือกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ให้ศาลเป็นผู้กำหนด
มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
- มารดาหรือบิดาตาย
- ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
- มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฝั่นเฟือน
- ศาลสั่่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
- บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
- กำหนดที่อยู่ของบุตร
- ทำโทษบุตรตามสมควรหรือว่ากล่าวสั่งสอน
- ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
- เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ดังที่แสดงไว้ข้างต้น คำถามเรื่องอำนาจปกครองบุตรภายใต้กฎหมายไทยที่ถูกกล่าวถึงในบริบทแห่งการสมรส ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาเกี่ยวกับท่าทีที่ศาลไทยจะดำเนินการต่อการตัดสินใจในเรื่องอำนาจปกครองที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีการสิ้นสุดแห่งการสมรส ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีแยกกันอยู่โดยถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นเรื่องของกฎหมาย ชาวต่างชาติได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับพลเมืองไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร กฎหมายไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างสิทธิของบิดาและมารดาในเรื่องอำนาจปกครองบุตร
การบังคับใช้คำสั่งจากต่างประเทศ: คำสั่งจากต่างประเทศ (รวมถึงคำสั่งอำนาจปกครองของสหรัฐอเมริกา) จะไม่ใช้บังคับ / บังคับใช้ในประเทศไทย พลเมืองอเมริกันที่เดินทางมายังไทยอยู่ภายใต้อำนาจของศาลไทย หากบิดามารดาเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทยพร้อมกับบุตรหรือทิ้งบุตรไว้ที่ประเทศไทย สถานทูตสหรัฐฯจะไม่สามารถบังคับให้บิดามารดาหรือรัฐบาลไทยคืนบุตรไปที่สหรัฐอเมริกาได้ พลเมืองชาวอเมริกันที่วางแผนจะไปเที่ยวเมืองไทยกับบุตรสองชาติควรระลึกถึงสิ่งนี้
การได้มาซึ่งสัญชาติไทย: พระราชบัญญัติสัญชาติไทยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 (1992) ระบุว่าเด็กที่เกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาผู้ถือสัญชาติไทยอย่างน้อย 1 คนเป็นพลเมืองไทย หากเด็กเกิดนอกประเทศไทยและมีบิดามารดาเป็นชาวไทยอย่างน้อย 1 คนบิดามารดาไทยสามารถรายงานการคลอดบุตรให้สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุดและเด็กจะได้รับสัญชาติไทย
ศาลพิเศษ: ศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อพิจารณาคดีกอำนาจปกครองบุตรสามารถพบได้เฉพาะในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ ในเมืองไทยเท่านั้น
หนังสือเดินทางไทยของบุตร: ผู้ปกครองที่ประสงค์จะได้รับหนังสือเดินทางไทยต้องแสดงสูติบัตร (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี) หรือบัตรประจำตัวประชาชนไทย (สำหรับเด็กอายุ 15-20 ปี) ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา บิดามารดาทั้งสองคนจะต้องมากับบุตรในระหว่างขั้นตอนการยื่นขอ ในกรณีที่บิดามารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาได้ต้องลงชื่อในหนังสือยินยอมซึ่งจะต้องนำไปยื่นต่อสำนักงานโดยผู้ปกครองและผู้เยาว์
ข้อมูลติดต่อ:
American Citizen Services (ACS)
ที่อยู่: 95 Wireless Road, Bangkok 10330, Thailand
โทรศัพท์: [66](2) 205-4049
อีเมลล์: acsbkk@state.gov
Home Page: http://bangkok.usembassy.gov/embassy/acs.htm
Consulate General in Chiang Mai
ที่อยู่: 387 Witchayanond Road, Chiang Mai 50300, Thailand
โทรศัพท์l: [66](53) 252-629
โทรสาร: [66](53) 252-633
Home Page: http://bangkok.usembassy.gov/consulcm/consulcm.htm
การลักพาตัวเด็กระหว่างประเทศโดยผู้ปกครอง
สำหรับ การลักพาตัวเด็กระหว่างประเทศโดยผู้ปกครอง, ติดต่อสำนักงานปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่ 202-736-7000, เข้าเยี่ยมเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตที่ http://travel.state.gov/family/abduction/abduction_580.html, ส่งเป็นจดหมายขนาด 9 x 12 นิ้;มาที่:
Office of Children’s Issues (CA/OCS/CI)
U.S. Department of State
SA-29, 4th Floor
2201 C Street, N.W.
Washington, D.C. 20520-2818
การยื่นขอหนังสือเดินทางสำหรับผู้เยาว์: บุคคลที่ยื่นขอหนังสือเดินทางประเทศสหรัฐอเมริกาให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีต้องแสดงให้เห็นว่าบิดามารดาทั้งสองคนหรือผู้ปกครองตามกฎหมายอนุญาตให้ออกหนังสือเดินทางแก่เด็กหรือบิดามารดาผู้ยื่นคำขอมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการได้รับหนังสือเดินทาง กฎหมายนี้ครอบคลุมคำขอหนังสือเดินทางที่ทำขึ้นที่หน่วยงานหนังสือเดินทางประเทศสหรัฐอเมริกาในสหรัฐอเมริกา และสำนักงานกงสุลสหรัฐอเมริกาในต่างประเทศ ข้อยกเว้นความต้องการนี้อาจเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์พิเศษของครอบครัวหรือในกรณีฉุกเฉินอย่างเร่งด่วนซึ่งจำเป็นต้องเดินทางโดยทันที วัตถุประสงค์ของข้อกำหนดใหม่ที่ได้รับการยินยอมจากทั้งบิดาและมารดาคือการลดความเป็นไปได้ที่อาจใช้หนังสือเดินทางของสหรัฐฯ ในการลักพาตัวเด็กระหว่างประเทศ
ระบบแจ้งเตือนการออกหนังสือเดินทางเด็ก: แยกออกจากข้อกำหนดที่ต้องใช้ลายเซ็นของทั้งบิดามารดาสำหรับการออกหนังสือเดินประเทศสหรัฐอเมริกา บิดามารดาอาจจะสามารถร้องขอว่าชื่อของบุตรพวกเขาถูกป้อนเข้าระบบตรวจสอบรายชื่อหนังสือเดินทางในสหรัฐฯ ในฐานะ ระบบแจ้งเตือนการออกหนังสือเดินทางเด็ก (CPIAP) บิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายสามารถได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนหนังสือเดินทางจะออกให้แก่บุตรผู้เยาว์ของเขาและเธอ
ข้อมูลเพิ่มเติม: กระทรวงการต่างประเทศมีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างทนายความต่างประเทศ, การให้บริการของขั้นตอนกระบวนการ, และ การบังคับใช้ในการเลี้ยงดูบุตร และ การบังคับใช้คำตัดสินระหว่างประเทศ, ซึ่งจะเสริมข้อมูลจำเพาะประเทศที่ระบุไว้ในใบปลิวนี้ อกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศจะเผยแพร่ ข้อมูลจำเพราะประเทศ สำหรับทุกประเทศทั่วโลกโดยให้ข้อมูล เช่น สถานที่ตั้งสถานทูตสหรัฐฯ เงื่อนไขทางสุขภาพ สถานการณ์ทางการเมือง และรายงานอาชญากรรม เมื่อสถานการณ์ในประเทศมีความร้ายแรงมากกระทรวงการต่างประเทศจะออกการแจ้งเตือนการท่องเที่ยวหรือคำเตือนการท่องเที่ยวซึ่งอาจแนะนำให้พลเมืองของสหรัฐฯ เลื่อนการเดินทางไปประเทศนั้น เอกสารเหล่านี้มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตที่: http://travel.state.gov หรือหมายเลขโทรฟรี 1-888-407-4747 ระหว่างเวลา 8:00 น. – 20:00 น. เวลาตะวันออก วันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดในสหรัฐฯ)