ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารทางราชการที่ระบุรายละเอียดของแต่ละบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นๆ ทะเบียนบ้านไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ แต่จะระบุว่าผู้ใดเป็น “เจ้าบ้าน” และ “ผู้อาศัย”
คนไทยจะมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานสำคัญแสดงภูมิลำเนาของบุคคลและใช้เมื่อติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณจะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะ คุณก็ต้องใช้ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารประกอบหลักฐานการจดทะเบียนกับกรมการขนส่ง แต่หากคุณเป็นชาวต่างชาติและประสงค์จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะ คุณสามารถนำหนังสือแสดงที่อยู่อาศัยที่ออกโดยกองกำกับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ต.ม.) ได้ เอกสารนี้ชื่อเรียกเป็นทางการว่า “หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย”
นายจ้างก็จะขอเอกสารทะเบียนบ้านกับลูกจ้างที่จะรับเข้ามาทำงานไว้เป็นหลักฐาน เป็นต้น
ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบดังนี้
1) ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

ตัวอย่างทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14
มีข้อยกเว้นว่า ชาวต่างชาติซึ่งมีถิ่นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยสามารถมีทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงินนี้ได้ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของสำนักทะเบียนกลาง ปี 2535 ข้อ 44
2) ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ




ตัวอย่างทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13
ทะเบียนบ้านนั้นไม่ได้เป็นเอกสารซึ่งบ่งบอกถึงการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นเอกสารซึ่งเพียงระบุว่าผู้ใดเป็นเจ้าบ้านและมีใครเป็นผู้อาศัยในบ้านหลังนั้น ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียน พ.ศ.2534 และแก้ไขเมื่อปี พ.ศ.2551
คำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้านนั้นสามารถดำเนินการได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือ “เขต”หากอยู่ในกรุงเทพ คำร้องในการขอทะเบียนบ้านนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วดำเนินการโดย ผู้ทำหมู่บ้านจัดสรร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งได้ทำการสร้างบ้าน ค่าใช้จ่ายในการขอมีทะเบียนบ้านนั้นไม่สูงมากแต่ต้องใช้ระยะเวลาและผ่านขั้นตอนต่างๆ
ถึงแม้จะมีระเบียบเกี่ยวกับการออกทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง)ไว้แล้วก็ตาม หากแต่ว่าอำเภอแต่ละแห่งก็จะมีกฎต่างหากออกไป คุณต้องหาหลักฐานทีเกี่ยวข้องที่ระบุตัวตนซึ่งอาจรวมถึงรูปถ่าย สำนักทะเบียนอำเภอบางท้องที่ต้องการหนังสือรับรองจากสถานทูตว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่บางท้องที่ก็ไม่ต้องการ ดังนั้นหากคุณประสงค์จะขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน คุณจำเป็นต้องโทรศัพท์ติดต่อสำนักทะเบียนท้องที่ที่คุณจะยื่นเรื่องเสียก่อนว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และรวมถึงการนัดสอบปากคำพร้อมพยาน
เอกสารที่ใช้ประกอบการขอทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) ของจังหวัดนครราชสีมา
สำหรับชาวต่างชาตินั้น เอกสารนี้สามารถใช้ได้ในนิติกรรมต่างๆ อาทิ เช่น การขอใบอนุญาตขับขี่ การซื้อยานพาหนะ ใช้ประกอบการยื่นขออยู่ต่อในราชอาณาจักร แต่หากคุณไม่มีทะเบียนบ้าน คุณก็ใช้เป็น “หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย” แทนได้ บางแห่งคุณยังสามารถยื่นเรื่องในการได้รับสิทธิการรักษาสุขภาพกับโรงพยาบาลรัฐแต่ข้อนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจริงเท็จหรือไม่
หมายเหตุ หากคุณไม่มีทะเบียนบ้าน หรือ หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย คุณสามารถขอเอกสารเป็นรายงานประจำวันที่สถานีตำรวจได้ โดยแสดงหลักฐานส่วนบุคคลและที่พักอาศัย สถานีตำรวจบางแห่งปฏิเสธที่จะออกให้ แต่บางแห่งจะคิดค่าธรรมเนียม 20 บาท บางแห่งอาจจะมากกว่านั้น