มันคืออะไร?
คนไทยใช้บัตรระบุตัวตนหลักๆ อยู่สองอย่าง คือ
- บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล รูปภาพ ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก บัตรนี้จะเป็นสีฟ้า (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
- ทะเบียนบ้าน ซึ่งจะเป็นเล่มสีน้ำเงิน และจะระบุถิ่นที่อยู่อย่างเป็นทางการ

บัตรประจำตัวประชาชนสำหรับคนสัญชาติไทย
ทั้งสองอย่างนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการโอนที่ดิน การออกเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้ง ใช้สำหรับยื่นคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนขอเอกสารราชการ และใช้เพื่อเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ
ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ใช้หนังสือเดินทางในประเทศไทยเป็นบัตรประจำตัวประชาชน นอกจากนี้ชาวต่างชาติยังสามารถใช้ “ทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง” ได้อีกด้วย อำเภอ หรือเทศบาลเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลในในเรื่องนี้ เอกสารนี้ใช้เหมือนกับคนไทยซึ่งจะระบุถิ่นที่อยู่อย่างเป็นทางการของพวกเขา ทั้งนี้ตรวจคนเข้าเมืองยังสามารถออกเอกสารที่เรียกว่า “ใบรับรองถิ่นที่อยู่” เพื่อให้การรับรองที่อยู่ของคุณได้อีกด้วย
บัตรประจำตัวประชาชนไทย ออกตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชนไทยนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2526
เลขตัวแรกของบัตรประจำตัวประชาชนไทยมีความหมาย ต่อไปนี้:
เลข 1 หมายถึง ผู้มีสัญชาติไทย เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป ที่บิดามารดา จดทะเบียนการเกิดภายใน 15 วัน
เลข 2 หมายถึง ผู้มีสัญชาติไทย เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป ที่บิดามารดา จดทะเบียนการเกิดล่าช้า
เลข 3 หมายถึง ผู้มีสัญชาติไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในการสำรวจสำมะโนประชากรก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527
เลข 4 หมายถึง กลุ่มคนประเภทเดียวกันกับ (เลข 3) ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีหมายเลขประจำตัวประชาชน
เลข 5 หมายถึง ผู้มีสัญชาติไทย ที่มีรายชื่อถูกบันทึกอยู่ในการสำรวจสำมะโนประชากรในภายหลังเนื่องจากเกิดข้อผิดพลาด
เลข 6 ถูกนำมาใช้สำหรับผู้ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายหรือผู้ที่เข้ามาในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีเจตนาที่จะอยู่ในประเทศเป็นการชั่วคราว ดังนั้นถ้าคุณมีทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง คุณก็จะมีหมายเลขประจำตัวประชาชนไทยที่เริ่มต้นด้วยเลข 6
เลข 7 สำหรับเด็กที่เป็นบุตรของบุคคลหมายเลข 6
เลข 8 สำหรับคนต่างด้าว ผู้ซึ่งได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นสัญชาติไทยภายหลังวันที่ 1 พฤษภาคม 2527 (และมีถิ่นที่อยู่ถาวร)
คนไทยที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป จะต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยตามกฎหมายกำหนด




นี่คือบัตรประจำตัวสีชมพูของผมที่ผมได้ทำในจังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559
บัตรประจำตัวนี้ไม่ได้มีสิทธิเช่นเดียวกับบุคคลสัญชาติไทยหรือกลายเป็นบุคคลสัญชาติไทยแต่อย่างใด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้คำจำกัดความคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนี้
1) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
2) คนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
3) คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
4) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข(ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต
คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย กรณีคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว ที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน ท.ร.14 ระบุสัญชาติอื่น หรือไม่ได้สัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 3, 4, 5, 8 และบุตรของบุคคลต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยและไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ มีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.13 เลขประจำตัวขึ้นต้นหลักแรกด้วย 6 หรือ 7 ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นคำขอมีบัตรสีชมพูต่อนายทะเบียนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่;
1) วันที่อายุครบห้าปีบริบูรณ์
2) วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
3) วันที่บัตรเดิมหมดอายุ
4) วันที่บัตรสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด หรือ
5) วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิดในทะเบียนบ้าน
หลังจากที่ทหารทำรัฐประหารปี 2557 รัฐบาลต้องการที่จะลงทะเบียนอพยพจาก กัมพูชา พม่า และลาวหลายพันคน ซึ่งเป็นข่าวไปทั่วว่า “บัตรสีชมพู” จะมาถึงเร็ว ๆ นี้ (อ่านที่นี่สำหรับตัวอย่าง)
บัตรประจำตัวสีชมพู ตั้งแต่ปี 2559
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ที่อำเภอและเทศบาลได้รับระเบียบใหม่ ประกอบไปด้วย 2 หน้ากระดาษ อธิบายกระบวนการใหม่ของ “บัตรประจำตัวสีชมพู” เราได้แปลกฎระเบียบเป็นภาษาอังกฤษสำหรับความเข้าใจของคุณ
ทำอย่างไรถึงจะได้รับบัตรประจำตัวใบนี้:
อย่างแรกที่คุณจำเป็นต้องมีคือหมายเลขประจำตัวในการทำบัตร หากชื่อของคุณอยู่ในทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง (สำหรับชาวต่างชาติ) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำ (มีถิ่นที่อยู่ถาวร) เราขอแนะนำให้คุณไปที่อำเภอ หรือเทศบาล และนำเอกสารฉบับจริงและสำเนารายการต่อไปนี้:
– หนังสือเดินทางของคุณ
– ใบอนุญาตทำงาน (ถ้ามี)
– ทะเบียนบ้านของคุณ
– ใบรับรองการสมรสของคุณ (ถ้ามี)
– สมุดถิ่นที่อยู่ถาวร 2 เล่มของคุณ (ถ้าคุณมีถิ่นที่อยู่ถาวร)
– สูติบัตรของเด็กไทย (ถ้ามี)
มันก็มักจะดีกว่าที่จะนำเอกสารไปมากกว่าการนำไปน้อย เพราะคุณจะไม่รู้ว่าสิ่งที่ทางอําเภอขอนั้นจะมีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น ผมจะไม่แปลกใจที่จะมีการขอหนังสือเดินฉบับแปลในบางพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการระบุไว้ในกฎระเบียบก็ตาม โปรดทราบว่าในเดือนกรกฎาคมปี 2559 ผมเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ขอทำบัตรใบนี้ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้คุ้นเคยในการดำเนินการเช่นนั้น ซึ่งผมใช้เวลา 3 วันสำหรับที่จะมีบัตรนี้
นำเอกสารทั้งหมดทำสำเนาและลงนามทุกหน้าด้วยปากกาสีน้ำเงิน กฎระเบียบยังอ้างถึงพยาน ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องมีพยานที่นำมาในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทย
ขั้นตอนควรจะเป็นไปอย่างรวดเร็วภายในวันเดียว หรือคุณจะได้รับมันไม่กี่วันต่อมา คุณจะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือทั้งสองและถ่ายรูปโดยไม่สวมรองเท้าในขณะถ่ายรูปติดบัตร แรงงานข้ามชาติ ลาว กัมพูชา พม่ามีบัตรที่คล้ายกัน แต่จะเป็นสีขาว แต่งตัวเรียบร้อยในวันที่คุณจะไปทำบัตร
บัตรใบนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 10 ปีตามข้อ 8 ของการควบคุมใน 2551 แต่ถ้าคุณมีอายุมากกว่า 60 ก็จะไม่มีวันหมดอายุ (ยังอยู่ในข้อ 8 เหมือนกัน)
สำหรับผมที่จังหวัดนครราชสีมา ไม่เสียค่าบริการ แต่ตามกฎหมายพวกเขาควรจะขอให้คุณจ่าย 60 บาท
ประโยชน์ของบัตร เราจะมาดูกันอีกที คุณอาจจะจ่ายในราคาคนไทยสำหรับอุทยานแห่งชาติ บางทีคุณอาจจะไม่ต้องถือหนังสือเดินทางตลอดเวลา (แต่วีซ่า ไม่ได้เขียนไว้ในบัตรนั้น) นี่คือบัตรประจำตัวระบุตัวตนอย่างเป็นทางการของบุคคลไร้ซึ่งสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ประเทศไทย มีชื่อของคุณเป็นภาษาไทยและหมายเลขบัตรประจำตัว นอกจากนี้ยังจะแก้ไขการสะกดชื่อภาษาไทยของคุณด้วย