ในปี 2562 ประเทศไทยได้ออกกฎหมายใหม่ ชื่อว่า พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ซึ่งอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสิทธิในการใช้ที่ดินในประเทศไทยได้นานสูงสุดถึง 30 ปี เทียบเท่ากับสิทธิการเช่าที่ดิน ที่มีกำหนดเวลาเช่าสูงสุดอยู่ที่ 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้เช่า
ทรัพย์อิงสิทธิ แตกต่างจากสิทธิในที่ดินประเภทอื่นๆ ตรงที่เจ้าของทรัพย์อิงสิทธิสามารถใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ด้วยการจำนองสิทธิทรัพย์อิงสิทธิได้ นอกจากนี้การโอนสิทธิทรัพย์อิงสิทธินี้ยังสามารถทำได้ทั้งแบบมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้ รวมไปถึงสามารถกำหนดให้สิทธิทรัพย์อิงสิทธิเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ด้วย

ข้อจำกัดของทรัพย์อิงสิทธิ คือ สามารถมีได้แต่เฉพาะที่ดินที่มีโฉนดหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) เท่านั้น และจะแบ่งที่ดินเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งมีทรัพย์อิงสิทธิไม่ได้ กล่าวคือ ถ้าให้ทรัพย์อิงสิทธิแก่ผู้ใดไปแล้ว ต้องให้คนๆนั้น สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ทั้งหมด จะมาแบ่งเป็นส่วนๆไม่ได้นั่นเอง
หากคุณเป็นชาวต่างชาติและต้องการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยลองนึกถึง ทรัพย์อิงสิทธิ อย่างไรก็ตาม หากคุณยังมีข้อสงสัย สามารถขอคำปรึกษาจากทนายความได้ เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของการสิทธิประเภทนี้ที่คุณจะได้รับ โดยครบถ้วนถูกต้อง
ประโยชน์และข้อเสียของทรัพย์อิงสิทธิในประเทศไทย
นี่คือประโยชน์บางประการของสิทธิทรัพย์อิงสิทธิ:
- ในฐานะเจ้าของสิทธิทรัพย์อิงสิทธิ : คุณสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น (สูงสุด 30 ปี) แต่คุณสามารถโอนระยะเวลาคงเหลือของสิทธิของคุณให้กับใครก็ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ก่อน
- ยืดหยุ่น: สิทธิทรัพย์อิงสิทธิมีความยืดหยุ่นมากกว่าสิทธิการเช่า คุณสามารถจดทะเบียนจํานองในสิทธินี้ได้ แม้จะยังเป็นเรื่องที่ใหม่เนื่องจากเพิ่งมีการประกาศใช้กฎหมายในปี 2562 ก็ตาม แต่ในอนาคตสิทธินี้ย่อมได้รับความนิยมในหมู่ชาวต่างชาติ ไม่แพ้สิทธิประเภทอื่นๆ แน่นอน
- ระยะยาว: สามารถจดทะเบียนสิทธิทรัพย์อิงสิทธิได้สูงสุดถึง 30 ปี และในอนาคตอาจสามารถขยายระเวลาออกไปได้เช่นเดียวกับสิทธิการเช่า
นี่คือความเสี่ยงบางประการของสิทธิทรัพย์อิงสิทธิ:
- เจ้าของที่ดินหรืออาคารชุดและเจ้าของสิทธิทรัพย์อิงสิทธิไม่สาามารถยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิได้ก่อนที่จะครบกำหนดเวลาที่ได้มีการตกลงกันไว้
สิ่งสําคัญคือต้องชั่งน้ําหนักผลประโยชน์และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์อิงสิทธิ เนื่องจากคุณยังมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น การจดทะเบียนเช่า การจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน การจดทะเบียนสิทธิอาศัย เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของคุณ เป้าหมายของคุณ ในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าคุณจะแต่งงานกับคนไทยหรือมีหุ้นส่วนคนไทย ก็สามารถใช้บริการของเราได้ อย่าลังเลที่จะทำการนัดหมายออนไลน์กับเรา เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เชื่อม โยง:
- นี่คือลิงค์ที่เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิในภาษาไทย: http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=13787