เราจะเริ่มบทความนี้ด้วยการอธิบายคำศัพท์ ความหมายของ อำนาจปกครองบุตร ในประเทศไทย อาทิ “อำนาจปกครอง” “การดูแล” และ “สิทธิเยี่ยมเยียน” เพราะคนส่วนใหญ่ยังสับสนกับคำเหล่านี้อยู่ เขตอำนาจแต่ละที่ก็จะใช้คำที่มีความหมายเหมือนหรือต่างกันออกไป ส่วนศาลไทยนั้นเราจะใช้คำในประมวลกฎหมายหรือคำพิพากษาที่พบ
15 มกราคม 2553 โดย Sebastien H. Brousseau, LLB, BSc.
ในประเทศระบบคอมมอนลอว์ (ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกา) คำว่า “การดูแล” จะสับสนกับคำว่า “อำนาจปกครอง” แต่ภายใต้กฎหมายไทยแล้ว จะมีคำอื่นๆอีก เช่น “ผู้ปกครอง” หรือ “ผู้ปกครองทรัพย์”

1. คำนิยามอำนาจปกครองบุตร
ก) อำนาจปกครองบุตร เป็นสิทธิและหน้าที่ที่บิดามารดาพึงมีต่อบุตร บิดามารดาผู้มีอำนาจปกครองมีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับบุตร เช่นการเลือกนับถือศาสนาหรือการศึกษา ในทางกลับกันบิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแล อบรมสั่งสอนบุตร อำนาจปกครองในกฎหมายแพ่งมีนิยามกว้างกว่าคำว่า “การปกครองดูแล” คุณจะทราบว่ากฎหมายแพ่งนั้น “การปกครองดูแล” นั้นจะหมายความถึงแต่เพียงบิดามารดาที่ได้ดูแลบุตรเท่านั้นแต่ะอาจจะไม่ได้มี “อำนาจปกครอง” บุตรด้วย
คำนิยาม “อำนาจปกครอง” ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หลายมาตรา เช่น มาตรา 1549 1551
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
- กำหนดที่อยู่ของบุตร
- ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
- ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
- เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ
ข้อจำกัดของอำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรมีข้อจำกัดตาม มาตรา 1574 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
2. กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพย์สิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
3. ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
4. จำหน่าย ไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิใน อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่น ว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพย์สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
5. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
6. ก่อข้อผูกพันใดๆที่มุ่งให้เกิดผลตาม(1) (2) หรือ (3)
7. ให้กู้ยืมเงิน
8. ให้ โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
9. รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
10. ประกัน โดยประการใดๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
11. นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4(1) หรือ(3)
มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
- มารดาหรือบิดาตาย
- ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่หรือตาย
- มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือง
- ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
- บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
มาตรา 1568 เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น อำนาจปกครองที่มีต่อบุตรอยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
ข้อผูกพัน และหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในประเทศไทย “ บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา”(มาตรา 1563 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ) และ “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ ” (มาตรา 1564 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
บุคคลย่มพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ (มาตรา 19 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
ข) การปกครองดูแลบุตร
การปกครองดูแลบุตรปกติแล้วจะหมายถึงการควบคุมและอยู่ภายใต้การดูแล ผู้เยาว์ไม่ใช่สิ่งของ และภายใต้กฎหมายไทย “การปกครองดูแล” หมายถึงการดูแลบุตร
แต่ประเทศที่ใช้คอมมอน ลอว์อธิบาย “การปกครองดูแล” ดังนี้
ศาลอังกฤษเคยใช้คำดังนี้ “ในความหมายที่กว้าง คำว่า “การปกครองดูแล” ถูกนำมาใช้ราวกับว่ามีความหมายเดียวกันกับผู้ปกครองที่มีอำนาจเต็มไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองโดยกำเนิด ผู้ปกครองตามพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล
ผู้เขียนใช้คำว่าอำนาจเต็มเพราะผู้ปกครองจำกัดให้อยู่เหนือบุคคลหรือผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์
“การปรับใช้คำนิยามให้สะดวกมากขึ้น อย่างเช่น การปกครองจะหมายรวมถึง สิทธิ หรือจะให้เจาะจงขึ้นไปก็คืออำนาจซึ่งมีอยู่จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะหรือโดยการสมรส ซึ่งอำนาจนี้จะหมายถึงควบคุมเรื่องการศึกษา การนับถือศาสนาและการจัดการทรัพย์สินผู้เยาว์ มีสิทธิในการโต้แย้งเกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทางและการให้ความยินยอมในการสมรส และรวมถึงการดูแลทรัพย์สินส่วนตัวของผู้เยาว์จะกว่าจะบรรลุนิติภาวะ (จาก ดูเฮม)
ฉะนั้นในประเทศที่ใช้กฎหมายคอมมอน คำว่าการปกครองดูแลจะคล้ายคลึงกับ “อำนาจปกครอง” ในระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะขอยกตัวอย่างด้านล่างให้เห็นได้ชัดแจ้งขึ้น
บิดา “ก” และ มารดา “ข” สมรสกันที่ประเทศไทยและมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ “ค” ทั้งสองฝ่ายจะมีอำนาจปกครองร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจจะส่ง “ค”ไปอเมริกาเพื่อศึกษาต่อและให้พักอาศัยอยู่กับลุง ฉะนั้นลุงจะเป็นผู้ปกครองดูแลผู้เยาว์ แต่บิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยยังมีอำนาจเต็มในการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้เยาว์ แต่ลุงจะไม่มีอำนาจปกครอง จะมีเพียงเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ตามมาตรา 1567 บุคคลที่มีอำนาจปกครองสามารถเรียกให้ผู้เยาว์กับมาประเทศไทยได้
ค) สิทธิเยี่ยมเยือน
คำนี้เป็นคำที่ง่ายที่จะอธิบาย ซึ่งเป็นคำที่หมายถึงสิทธิของบุคคลในการติดต่อ หรือ เยี่ยมเยียน ผู้เยาว์ ในกรณีหย่าเมื่อฝ่ายใดได้อำนาจปกครองและปกครองผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวแล้วนั้น อีกฝ่ายหนึ่งนั้นยังคงมีสิทธิเยี่ยมเยียนผู้เยาว์ได้โดยกำหนดไว้เป็นสัญญาหรือโดยคำสั่งศาล
บิดามารดาที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับสิทธิเยี่ยมเยียนควรจะระบุให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ระบุเกี่ยวกับว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิเยี่ยมเยียนเดือนละครั้ง สัญญานั้นควรระบุในรายละเอียดว่าที่ไหนและเมื่อไรที่จะมารับผู้เยาว์ และส่งคืนอย่างไร เมื่อไร เป็นต้น
ในอดีตที่ผ่านมา ทางเราเคยเจอสัญญาที่บิดามารดาได้ทำขึ้นและไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ซึ่งการทำสัญญานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะระบุเกี่ยวกับการบอกกล่าวและรายละเอียดอื่นๆที่สำคัญลงไป
ง) ความปกครอง
มาตรา 1585 อธิบายเกี่ยวกับ”ความปกครอง ภายใต้กฎหมายไทย”
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้วนั้นจะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้
ใน กรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนตามมาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้หรือในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 1582 วรรคสอง ศาลจะตั้งผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้
มาตรา 1586 ผู้ปกครองตามมาตรา1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติผู้เยาว์ อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ ปกครอง
ภาย ใต้มาตรา 1590 การตั้งผู้ปกครองนั้นถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนด พินัยกรรม เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับหรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้น เป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตามมาตรา 1578
มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
- ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
- ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
- ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
- ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
จ) ประโยชน์สุขของบุตร
ประโยชน์สุขของบุตรเป็นเรื่องหลักนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวบุตร ผู้ปกครองที่ไม่สามารถตกลงได้เกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การปกครองดูแลหรือศาสนา ศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดีที่สุดสำหรับผู้เยาว์
แนวความคิดนี้ได้ใช้ในหลายประเทศ คุณสามารถดูได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520 ว่า
“ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ” ซึ่งประโยชน์สุขของบุตรอาจจะแตกต่างจากประโยชน์ของบิดามารดาก็ได้
2. กฎหมายไทย
ในประเทศตะวันตก บิดาและมารดาผู้เยาว์จะมีสิทธิและหน้าที่เท่าๆกัน ภายใต้กฎหมายไทย ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546 ว่าเมื่อบุตรเกิดจากมารดาที่มิได้ทำการสมรสกับบิดา บิดานั้นไม่มีสิทธิตามกฎหมายต่อเด็ก มีเพียงแต่มารดาเท่านั้นที่มีสิทธิและหน้าที่ต่อผู้เยาว์
บุคคลที่ปรากฏชื่อเป็นบิดาอยู่ในสูติบัตรนั้นยังมิได้รับรองโดยกฎหมายว่าเป็นบิดา ถึงแม้ว่าจะมีผลตรวจดีเอ็นเอ ว่าเป็นบิดาแต่ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
มีข้อยกเว้นตามมาตรา 1547 อยู่ 3 ประการคือ
1. 1. เมื่อมีการสมรสระหว่างฝ่ายบิดาและมารดาภายหลัง
2. 2. เมื่อมีการจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอ
3. 3. เมื่อมีคำสั่งศาล
ข้อยกเว้นข้อแรกเป็นที่เข้าใจได้โดยง่าย
ข้อยกเว้นข้อสองค่อนข้างซับซ้อนขึ้น ทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมว่าบิดานั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ (อำเภอหรือเขตถ้าอาศัยอยู่ในกรุงเทพ) และผู้เยาว์ต้องมีความเข้าใจและให้ความยินยอมด้วย
ในประเทศไทยนั้น แต่ละอำเภอจะแตกต่างกันออกไปและบ่อยครั้งที่จะไม่ได้ใช้กฎเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อผู้เยาว์อายุเกินกว่า 7 ปีขึ้นไปเพราะผู้เยาว์สามารถเขียนชื่อตน มีความสามารถให้ความยินยอม และทุกฝ่ายก็ต้องยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
หากผู้เยาว์ยังเด็กเกินไปและบิดาประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตร โดยทั่วไปแล้วจะต้องขออนุญาตศาลเพื่อให้มีคำสั่งในการรับจดทะเบียนรับรองบุตร หลังจากศาลมีคำสั่งก็สามารถใช้บังคับได้หลังจาก 30 วัน และบิดาสามารถนำคำสั่งศาลไปขอรับจดทะเบียนรับรองบุตรได้
ข้อยกเว้นข้อสาม โดยคำพิพากษาจากศาล อ่านได้จากบทความข้างล่าง “การดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรในศาลไทย”
ชายและหญิงไม่สามารถทำความตกลงเกี่ยวกับอำนาจปกครองระหว่างกันเองได้ โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาเลขที่ 7473/2537 วางแนวทางว่า คดีนี้ โจทก์และจำเลยอยู่กินกันฉันท์สามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมีบุตรร่วมกันหนึ่งคนคือเด็กชาย ย. ตามกฎหมายไทยแล้วนั้น ฝ่ายโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ย. และไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อผู้เยาว์ ส่วนมารดานั้นเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว แต่ฝ่ายโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมต่อกันระบุว่าเด็กชาย ย. จะอยู่กับแต่ละฝ่าย 2 สัปดาห์ผลัดกัน ศาลฎีกาเห็นว่าสัญญาฉบับนี้ไม่มีผลบังคับได้ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ดังนั้นฝ่ายโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยทำตามข้อตกลงได้
หากบิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ต้องการมีสิทธิต่อผู้เยาว์ตามกฎหมายแล้วนั้น บิดาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547
อำนาจปกครองภายใต้กฎหมายไทย
มาตราที่เกี่ยวข้องกับ “อำนาจปกครอง” ภายใต้กฎหมายไทย
มาตรา 1538 ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างสมรสที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี ซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง
ใน กรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็น สามี ซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536 มาใช้บังคับ
ให้ นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึง ที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ด้วย
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดา มารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่า เป็นบุตร
มาตรา 1560 บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังนั้น ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยทางกฎหมาย
หากชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันและมีบุตร ทั้งสองฝ่ายจะมีอำนาจปกครองร่วมกัน ฝ่ายบิดาจะมีสิทธิเท่าเทียมกับมารดา และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำตัวผู้เยาว์ไป อีกฝ่ายสามารถเรียกให้นำบุตรกลับมาคืนได้ ในทางปฏิบัตินั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและจะแจ้งให้นำเรื่องนี้มาฟ้องต่อศาล และให้ศาลเป็นผู้ตัดสินใจว่าสิ่งใดจะเป็นประโยชน์สุขของผู้เยาว์ และใครจะมีสิทธิในการปกครองดูแลบุตรและอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิเยี่ยมเยียนและจ่ายค่าอุปการะต่อผู้เยาว์
หากฝ่ายชายและหญิงตกลงหย่ากันด้วยความยินยอม ทั้งสองฝ่ายจะต้องระบุไว้ในสัญญาหย่าว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจปกครองและใครจะมีสิทธิปกครองดูแลบุตร อาจจะยกให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งหมดหรือยังมีอำนาจปกครองร่วมกันก็ได้ หากตกลงกันไม่ได้ศาลจะเป็นผู้ตัดสินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520
มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคน ใดถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ใน กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจใน การปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอก เป็นผู้ปกครองก็ได้ทั้งนั้น ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2544 แม้บิดาและมารดาจะจดทะเบียนหย่าโดยตกลงให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงฝ่ายเดียวก็เป็นเรื่องการตกลงตาม ปพพ มาตรา 1520 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) มิใช่เป็นกรณีที่บิดาถูกถอนอำนาจปกครองโดยศาล ฉะนั้นเมื่อมารดาของผู้เยาว์ถึงแก่กรรม อำนาจปกครองผู้เยาว์ก็กลับมาอยู่แก่บิดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1)นอกเสียจากว่าศาลได้เพิกถอนอำนาจปกครองของบิดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2497 กล่าวไว้ว่าอำนาจปกครองนั้นจะโอนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น หากบิดาเสียชีวิตหรือเป็นบิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มารดานั้นจะมีอำนาจปกครองโดยสมบูรณ์ ในกรณีนี้ทางฝ่ายมารดาไม่สามารถโอนอำนาจปกครองไปแก่อีกฝ่ายได้ ในทางกลับกันอีกฝ่ายก็ไม่สามารถรับสิทธิและหน้าที่นั้นได้นอกจากว่าอำนาจปกครองนั้นจะถูกเพิกถอนโดยศาลและแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้อำนาจแทน
หากว่าฝ่ายชายละหญิงได้ทำสัญญาต่อกันไว้หรือมีคำพิพากษาตอนหย่าว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวนั้น จะเป็นการยากที่ศาลจะเปลี่ยนแปลง นอกเสียจากว่ามีพฤติการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากปล่อยให้ผู้นั้นใช้อำนาจปกครองต่อไปจะเป็นผลเสียแก่ผู้เยาว์ได้
มาตรา 1521 ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความ ผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
มีตัวอย่างที่ศาลได้ปฏิเสธในการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้เกี่ยวกับอำนาจปกครอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4990/2537 โจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่าด้วยความยินยอมและตกลงให้ฝ่ายจำเลยผู้เป็นมารดาใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวนั้นเป็นไปตามปพพ. มาตรา 1520 วรรค 1 และ มาตรา 1566 (6) ดังนั้นมารดาจึงมีอำนาจปกครองโดยสมบูรณ์และศาลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้
ภายใต้กฎหมายไทยนั้นผู้เยาว์อาจอยู่ภายใต้การปกครองดูแลแบบผลัดกันของฝ่ายบิดาและมารดา ตัวอย่างเช่น บุตรอาจอยู่ในความดูแลของฝ่ายหนึ่งในภาคการศึกษาหนึ่งและอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งในภาคการศึกษาถัดไป ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2533 ที่ให้ไว้ดังนี้ กรณีนี้โจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมแต่ไม่ได้ระบุไว้ผู้ใดใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อายุ 3 ขวบ ผู้เยาว์นั้นอยู่ภายใต้การดูแลของจำเลยและต่อมาจำเลยได้แต่งงานใหม่ ฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องเพิกถอนอำนาจปกครองและขอให้ศาลได้พิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว ส่วนในคำให้การของจำเลยนั้นขอในทางตรงกันข้าม ศาลได้พิจารณาแล้วว่าฝ่ายโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยเพราะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันและนำผู้เยาว์ไปด้วย หลังจากนั้นจำเลยได้นำตัวผู้เยาว์กลับมา ดังนั้นยังถือมิได้ว่าฝ่ายโจทก์ละทิ้งผู้เยาว์ นอกเหนือจากนั้นฝ่ายโจทก์ติดต่อหาโรงเรียนให้ผู้เยาว์ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าฝ่ายโจทก์ยังรักและใส่ใจผู้เยาว์อยู่ ศาลไม่อาจเชื่อได้ว่าฝ่ายโจทก์ใช้อำนาจปกครองไปในทางที่ผิดหรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย ศาลเชื่อว่าเพื่อเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้เยาว์ที่จะมีการติดต่อกับทั้งสองฝ่าย จึงพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่ดูแลปกครองผู้เยาว์ทุกภาคการศึกษาแรกของแต่ละปีและจำเลยมีหน้าที่ดูแลปกครองผู้เยาว์ทุกภาคการศึกษาที่สองของแต่ละปีจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ
การดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาลไทย
หากคุณมีชื่อปรากฏอยู่บนสูติบัตรของเด็ก แต่คุณไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาเด็ก คุณสามารถขอดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้ตามปพพ.มาตรา 1555 ตามที่ระบุไว้ว่า
1. 1. เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
2. 2. เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลางร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
3. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
4. 4. เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
5. 5. เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
6. 6. เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
7. 7. เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
มีขั้นตอน 6 ประการในการดำเนินการดังนี้
- เขียนคำร้องและยื่นต่อศาล
- เจ้าหน้าที่สถานพินิจจะสอบสวนทั้งสองฝ่ายต่างหากจากกันเพื่อทำรายงานส่งต่อศาล รายงานนี้จะเป็นรายงานที่ส่งมาจาก “สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” โดยที่ไม่ต้องมีทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน
- นัดไกล่เกลี่ยจะมีขึ้นระหว่างคู่ความ ซึ่งจะมีขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ย หากตกลงกันได้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและลงนามโดยผู้พิพากษา
- หากทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ ก็จะมีการสืบพยานต่อไป
- ศาลจะมีคำพิพากษา
- สิทธิการรับรองบุตรจะต้องนำไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานอำนาจ
ฝ่ายโจทก์ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการรับรองบุตร คุณจะมีสิทธิในการใช้อำนาจปกครองร่วมกัน อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว คุณจะต้องดำเนินการ 2 ขั้นตอนดังนี้
ก) จดทะเบียนรับรองบุตรและขอ
ข) ขออำนาจปกครอง
ขึ้นอยู่กับว่าคุณทำคำร้องที่ไหน อย่างไร เพราะทั้งสองอย่างอาจขอได้ในคำร้องเดียวกัน และหากมีการตกลงกันในศาล สัญญานั้นบ่อยครั้งที่จะรวมถึงอำนาจปกครองและจะบอกว่าใครมีหน้าที่ดูแลปกครอง และสิทธิเยี่ยมเยียนและจ่ายค่าอุปการะ
ทางเราได้ทำคดีเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนรับรองบุตรและใช้อำนาจปกครองในคำร้องเดียวกันมาหลายคดีแล้ว